ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

อาคารโรงงานต้องจัดให้มีอุปกรณ์ตรวจจับและ แจ้งเหตุเพลิงไหม้ครอบคลุมทั่วทั้งอาคารตาม ความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ ที่ไม่มีคนงานปฏิบัติงานประจำและมีการติดตั้ง หรือใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือจัดเก็บวัตถุไวไฟ หรือวัสดุติดไฟได้ง่ายจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจ จับและแจ้งเหตุเพลิงไหม้อัตโนมัติ อุปกรณ์แจ้งเหตุ เพลิงไหม้ต้องเป็นชนิดที่ให้สัญญาณโดยไม่ต้องใช้ ไฟฟ้าจากระบบแสงสว่างและที่ใช้กับเครื่องจักร หรือมีระบบไฟสำรองที่จ่ายไฟสำหรับระบบแจ้ง เหตุเพลิงไหม้ได้ไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง

ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้อัตโนมัติ และอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือให้ครอบคลุมทั่วทั้ง อาคาร โดยการเลือกอุปกรณ์ต่างๆ ต้องมีความเหมาะสมกับ ประเภทเชื้อเพลิงและสภาพการใช้งานในพื้นที่นั้นๆ

สาเหตุในการเกิดเพลิงไหม้ที่พบมากในประเทศไทย คือการชำรุดของอุปกรณ์ไฟฟ้าและ การลัดวงจรของอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ อัตโนมัติและอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือในพื้นที่ดังต่อไปนี้ ๑) พื้นที่ที่ไม่มีคนปฏิบัติงานเป็นประจำและในพื้นที่นั้นมีการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า ๒) พื้นที่ที่มีการจัดเก็บวัตถุไวไฟ ๓) พื้นที่ที่มีการจัดเก็บวัสดุติดไฟได้ง่าย แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าสำหรับระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ประกอบด้วยแหล่งจ่าย ไฟฟ้าหลัก และแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรอง โดยแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรองจะทำงานทันทีเมื่อแหล่งจ่าย ไฟฟ้าหลักขัดข้อง และแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรองต้องสามารถจ่ายไฟฟ้าให้กับระบบสัญญาณแจ้ง เหตุเพลิงไหม้ได้นานไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง รวมทั้งห้ามทำการเชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟฟ้าของระบบ สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้จากระบบไฟฟ้าส่องสว่าง หรือระบบไฟฟ้าของเครื่องจักร

การติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ที่เป็นที่ยอมรับ
การติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน สากลที่เป็นที่ยอมรับ ตัวอย่างมาตรฐานสากล ได้แก่ National Fire Protection Association (NFPA) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีการนำไปใช้เป็นกฎหมายหรือมาตรฐาน ในหลายๆ ประเทศ โดยมาตรฐาน NFPA ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและติดตั้งระบบสัญญาณ แจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือ NFPA 72 - National Fire Alarm Code




อ้างอิง: คู่มือการปฎิบัติงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บริษัทไฟร์โฟกัสฯ แจ้งเปลี่ยนที่อยู่และเบอร์โทรใหม่

เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ

อาคารโรงงานนอกจากได้มีการติดตั้งระบบ ดับเพลิงอัตโนมัติแล้ว ยังต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิง แบบมือถือโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้ กำหนดไว้ในหมวดนี้ เครื่องดับเพลิงแบบมือถือต้องเหมาะสมกับ ประเภทของเชื้อเพลิงและเป็นไปตาม มอก. ๓๓๒ เครื่องดับเพลิงยกหิ้วชนิดผงเคมีแห้ง หรือ มอก. ๘๘๑ เครื่องดับเพลิงยกหิ้ว : คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มอก. ๘๘๒ เครื่องดับเพลิงยกหิ้ว : โฟม หรือ มาตรฐานที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมกำหนด หรือมาตรฐานอื่นที่ เทียบเท่า แม้จะมีการติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติในโรงงานแล้ว ทุกโรงงานจำเป็นต้องมีการติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ ด้วย เนื่องจากเครื่องดับเพลิงแบบมือถือมีวัตถุประสงค์ในการ ใช้ดับเพลิงเบื้องต้น หรือเมื่อมีผู้พบเห็นเหตุเพลิงไหม้เริ่มต้น จะสามารถใช้เครื่องดับเพลิงแบบมือถือทำการดับเพลิงได้ใน ทันที โดยไม่ต้องรอให้ระบบดับเพลิงอัตโนมัติทำงานซึ่งอาจ ทำให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์หรือทรัพย์สินภายในพื้นที่ นั้นๆ  สารดับเพลิงแต่ละชนิดที่บรรจุในเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ มีความสามารถและความเหมาะสมกับการดับเพลิงแต่ละประเภท ที่แตกต่างกัน ซึ่งมีอยู่ ๕ ประเภท ดังน