อาคารโรงงานนอกจากได้มีการติดตั้งระบบ
ดับเพลิงอัตโนมัติแล้ว ยังต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิง
แบบมือถือโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้
กำหนดไว้ในหมวดนี้
เครื่องดับเพลิงแบบมือถือต้องเหมาะสมกับ
ประเภทของเชื้อเพลิงและเป็นไปตาม มอก. ๓๓๒
เครื่องดับเพลิงยกหิ้วชนิดผงเคมีแห้ง หรือ มอก.
๘๘๑ เครื่องดับเพลิงยกหิ้ว : คาร์บอนไดออกไซด์
หรือ มอก. ๘๘๒ เครื่องดับเพลิงยกหิ้ว : โฟม หรือ
มาตรฐานที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรมกำหนด หรือมาตรฐานอื่นที่
เทียบเท่า
แม้จะมีการติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติในโรงงานแล้ว
ทุกโรงงานจำเป็นต้องมีการติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ
ด้วย เนื่องจากเครื่องดับเพลิงแบบมือถือมีวัตถุประสงค์ในการ
ใช้ดับเพลิงเบื้องต้น หรือเมื่อมีผู้พบเห็นเหตุเพลิงไหม้เริ่มต้น
จะสามารถใช้เครื่องดับเพลิงแบบมือถือทำการดับเพลิงได้ใน
ทันที โดยไม่ต้องรอให้ระบบดับเพลิงอัตโนมัติทำงานซึ่งอาจ
ทำให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์หรือทรัพย์สินภายในพื้นที่
นั้นๆ
สารดับเพลิงแต่ละชนิดที่บรรจุในเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ
มีความสามารถและความเหมาะสมกับการดับเพลิงแต่ละประเภท
ที่แตกต่างกัน ซึ่งมีอยู่ ๕ ประเภท ดังนี้
• เพลิงประเภท เอ คือ เพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา
ทั่วไป เช่น ไม้ผ้า กระดาษ ยาง และพลาสติกประเภท
ต่างๆ โดยมีสัญลักษณ์เป็นอักษร เอ อยู่ภายในรูป
สามเหลี่ยมสีเขียว
• เพลิงประเภท บีคือ เพลิงไหม้ที่เกิดจากของเหลวไวไฟ
ของเหลวติดไฟ และก๊าซไวไฟ โดยมีสัญลักษณ์เป็นอักษร
บีอยู่ภายในรูปสี่เหลี่ยมสีแดง
• เพลิงประเภท ซีคือ เพลิงไหม้ที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยัง
มีการใช้กระแสไฟฟ้าอยู่ โดยมีสัญลักษณ์เป็นอักษร ซีอยู่
ภายในรูปวงกลมสีฟ้า
• เพลิงประเภท ดีคือ เพลิงไหม้ที่เกิดกับโลหะติดไฟ เช่น
แมกนีเซียม ไททาเนียม โซเดียม และโปตัสเซียม โดยมี
สัญลักษณ์อักษร ดีอยู่ภายในรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง
• เพลิงประเภท เค คือ เพลิงไหม้ที่เกิดกับเครื่องครัวที่มีการ
ปรุงอาหารโดยใช้น้ำมันพืช หรือไขสัตว์ซึ่งสามารถติดไฟได้
มีสัญลักษณ์อักษร เค
เครื่องดับเพลิงแบบมือถือที่เลือกใช้ต้องได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานของ
ประเทศไทย คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย (มอก.) หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า
ตัวอย่างเช่น มาตรฐาน UL (Underwriters Laboratories Inc.) ซึ่งเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์
ด้านความปลอดภัยของประเทศสหรัฐอเมริกา
เครื่องดับเพลิงแบบมือถือต้องมีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๔.๕ กิโลกรัม พร้อม
ใช้งานได้ตลอดเวลา โดยต้องมีการตรวจสอบสภาพและความพร้อมในการใช้งาน
ไม่น้อยกว่าหกเดือนต่อหนึ่งครั้ง
เครื่องดับเพลิงแบบมือถือที่ติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ ในโรงงานต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า ๔.๕
กิโลกรัม (๑๐ ปอนด์) โดยเครื่องดับเพลิงแบบมือถือมีหลายประเภทตามชนิดของสารดับเพลิงที่
บรรจุเพื่อใช้ในการดับเพลิงกับเชื้อเพลิงแต่ละประเภท
ต้องมีการตรวจสอบสภาพของเครื่องดับเพลิงแบบมือถือให้มีความพร้อมในการใช้งานได้
ตลอดเวลา โดยต้องตรวจสอบเครื่องดับเพลิงแบบมือถืออย่างน้อยทุกๆ ๖ เดือน การตรวจสอบ
สามารถกระทำตามที่ผู้ผลิตกำหนดหรืออย่างน้อยต้องมีการตรวจสอบความดันที่มาตรวัดและ
สภาพอุปกรณ์ยึดสลัก (Tamper Seal) ของสลักดึง (Pull Pin) ต้องอยู่ในสภาพปกติ พร้อมทั้ง
ป้ายรายละเอียดต่างๆ ที่ด้านข้างเครื่องดับเพลิงแบบมือถือต้องอยู่ในสภาพที่สามารถอ่านวิธีการ
ใช้งานและประเภทสารดับเพลิงได้อย่างชัดเจน
อ้างอิง: คู่มือการปฎิบัติงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒