ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Fire Alarm Systems


Fire Alarm Systems หรือ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือ ระบบที่มีไว้สำหรับแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้ ไฟไหม้ โดยจะใช้อุปกรณ์ตรวจจับชนิดต่างๆ กันออกไปตามความเหมาะสม เช่น Smoke Detector, Heat Detector, Manual Pull Station ( Manual Call Point ) เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เราสามารถรับรู้และแก้ไข ไม่ให้ไฟไหม้นั้นลุกลามจนไม่สามารถควบคุมได้


วนประกอบของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้(Fire Alarm System Component)
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม มี 5 ส่วนใหญ่ๆ ซึ่งทำงานเชื่อมโยงกัน ดังแสดงในแผนภาพ
1. ชุดจ่ายไฟ (Power Supply)
ชุด จ่ายไฟ เป็นอุปกรณ์แปลงกำ ลังไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟมาเป็นกำ ลังไฟฟ้ากระแสตรง ที่ใช้ปฎิบัติงาน ของระบบและจะต้องมีระบบไฟฟ้าสำ รอง เพื่อให้ระบบทำ งานได้ในขณะที่ไฟปกติดับ
2. แผงควบคุม (Fire Alarm Control Panel)
  • เป็นส่วนควบคุมและตรวจสอบการทำ งานของอุปกรณ์และส่วนต่างๆในระบบทั้งหมด จะประกอบด้วย
    วงจรตรวจคุมคอยรับสัญญาณจากอุปกรณ์เริ่มสัญญาณ, วงจรทดสอบการทำ งาน, วงจรป้องกันระบบ, วงจร
    สัญญาณแจ้งการทำ งานในสภาวะปกติ และภาวะขัดข้อง เช่น สายไฟจากอุปกรณ์ตรวจจับขาด, แบต เตอรี่
    ต่ำ หรือไฟจ่ายตู้แผงควบคุมโดนตัดขาด เป็นต้น ตู้แ้ ผงควบคุม(FCP) จะมีสัญญาณไฟและเสียงแสดงสภาวะ
    ต่างๆบนหน้าตู้ เช่น
    – Fire Lamp : จะติดเมื่อเกิดเพลิงไหม้
    – Main Sound Buzzer : จะมีเสียงดังขณะแจ้งเหตุ
    1. ชุดจ่ายไฟ
    2. แผงควบคุม
    5. อุปกรณ์ประกอบ
    3. อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ
  • 4. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณ
    – Zone Lamp : จะติดค้างแสดงโซนที่เกิดAlarm
    – Trouble Lamp : แจ้งเหตุขัดข้องต่างๆ
    – Control Switch : สำ หรับการควบคุม เช่น เปิด/ปิดเสียงที่ตู้และกระดิ่ง,ทดสอบการทำ งานตู้,ทดสอบ
    Battery,Resetระบบหลังเหตุการณ์เป็นปกติ
3. อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ (Initiating Devices)
เป็นอุปกรณ์ต้นกำ เนิดของสัญญาณเตือนอัคคีภัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
3.1 อุปกรณ์เริ่มสัญญาณจากบุคคล (Manual Station) ได้แก่ สถานีแจ้งสัญญาณเตือนอัคคีภัยแบบ
ใช้มือกด (Manual Push Station)
3.2 อุปกรณ์เริ่มสัญญาณโดยอัตโนมัติ เป็นอุปกรณ์อัตโนมัติที่มีปฎิกิริยาไวต่อสภาวะ ตามระยะ
ต่างๆ ของการเกิดเพลิงไหม้ ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจจับควัน(Smoke Detector) อุปกรณ์ตรวจจับ
ความร้อน(Heat Detector) อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ(Flame Detector) อุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส
(Gas Detector)
4. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณด้วยเสียงและแสง (Audible & Visual Signalling Alarm Devices)
หลังจากอุปกรณ์เริ่มสัญญาณทำ งานโดยส่งสัญญาณมายังตู้ควบคุม(FCP) แล้ว FCPจึงส่งสัญญาณ
ออกมาโดยผ่านอุปกรณ์ ได้แก่ กระดิ่ง, ไซเรน, ไฟสัญญาณ เป็นต้นเพื่อให้ผู้อยู่อาศัย, ผู้รับผิดชอบหรือเจ้าหน้า
ที่ดับเพลิงได้ทราบว่ามีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้น
5. อุปกรณ์ประกอบ (Auxiliary Devices)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำ งานเชื่อมโยงกับระบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมป้องกัน และดับเพลิงโดยจะถ่าย
ทอดสัญญาณระหว่างระบบเตือนอัคคีภัยกับระบบอื่น เช่น
5.1 ส่งสัญญาณกระตุ้นการทำ งานของระบบบังคับลิฟท์ลงชั้นล่าง, การปิดพัดลมในระบบปรับอากาศ,
เปิดพัดลมในระบบระบายอากาศ, เปลี่ยนแปลงเพื่อควบคุมควันไฟ,การควบคุมเปิดประตูทางออก,
เปิดประตูหนีไฟ, ปิดประตูกันควันไฟ, ควบคุมระบบกระจายเสียง และการประกาศแจ้งข่าว, เปิดระบบดับเพลิง เป็นต้น
5.2 รับสัญญาณของระบบอื่นมากระตุ้นการทำ งานของระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย เช่น จากระบบพ่น
นํ้าปั๊มดับเพลิง ระบบดับเพลิงด้วยสารเคมีชนิดอัตโนมัติ เป็นต้น

อ้างอิง: http://www.dss.go.th/dssweb/st-articles/files/pep_11_2544_fire_alarm.pdf

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

อาคารโรงงาน ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ตรวจจับและ แจ้งเหตุเพลิงไหม้ครอบคลุมทั่วทั้งอาคารตาม ความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ ที่ไม่มีคนงานปฏิบัติงานประจำและมีการติดตั้ง หรือใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือจัดเก็บวัตถุไวไฟ หรือวัสดุติดไฟได้ง่ายจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจ จับและแจ้งเหตุเพลิงไหม้อัตโนมัติ อุปกรณ์แจ้งเหตุ เพลิงไหม้ต้องเป็นชนิดที่ให้สัญญาณโดยไม่ต้องใช้ ไฟฟ้าจากระบบแสงสว่างและที่ใช้กับเครื่องจักร หรือมีระบบไฟสำรองที่จ่ายไฟสำหรับระบบแจ้ง เหตุเพลิงไหม้ได้ไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้อัตโนมัติ และอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือให้ครอบคลุมทั่วทั้ง อาคาร โดยการเลือกอุปกรณ์ต่างๆ ต้องมีความเหมาะสมกับ ประเภทเชื้อเพลิงและสภาพการใช้งานในพื้นที่นั้นๆ สาเหตุในการเกิดเพลิงไหม้ที่พบมากในประเทศไทย คือการชำรุดของอุปกรณ์ไฟฟ้าและ การลัดวงจรของอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ อัตโนมัติและอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือในพื้นที่ดังต่อไปนี้ ๑) พื้นที่ที่ไม่มีคนปฏิบัติงานเป็นประจำและในพื้นที่นั้นมีการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า ๒) พื้น

บริษัทไฟร์โฟกัสฯ แจ้งเปลี่ยนที่อยู่และเบอร์โทรใหม่

เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ

อาคารโรงงานนอกจากได้มีการติดตั้งระบบ ดับเพลิงอัตโนมัติแล้ว ยังต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิง แบบมือถือโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้ กำหนดไว้ในหมวดนี้ เครื่องดับเพลิงแบบมือถือต้องเหมาะสมกับ ประเภทของเชื้อเพลิงและเป็นไปตาม มอก. ๓๓๒ เครื่องดับเพลิงยกหิ้วชนิดผงเคมีแห้ง หรือ มอก. ๘๘๑ เครื่องดับเพลิงยกหิ้ว : คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มอก. ๘๘๒ เครื่องดับเพลิงยกหิ้ว : โฟม หรือ มาตรฐานที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมกำหนด หรือมาตรฐานอื่นที่ เทียบเท่า แม้จะมีการติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติในโรงงานแล้ว ทุกโรงงานจำเป็นต้องมีการติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ ด้วย เนื่องจากเครื่องดับเพลิงแบบมือถือมีวัตถุประสงค์ในการ ใช้ดับเพลิงเบื้องต้น หรือเมื่อมีผู้พบเห็นเหตุเพลิงไหม้เริ่มต้น จะสามารถใช้เครื่องดับเพลิงแบบมือถือทำการดับเพลิงได้ใน ทันที โดยไม่ต้องรอให้ระบบดับเพลิงอัตโนมัติทำงานซึ่งอาจ ทำให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์หรือทรัพย์สินภายในพื้นที่ นั้นๆ  สารดับเพลิงแต่ละชนิดที่บรรจุในเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ มีความสามารถและความเหมาะสมกับการดับเพลิงแต่ละประเภท ที่แตกต่างกัน ซึ่งมีอยู่ ๕ ประเภท ดังน